ดูบทความ
ดูบทความปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
ปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
ปั๊มนมอย่างไรให้พอ หากลูกไม่ดูดจากเต้า
เป้าหมาย :
ปั๊มน้ำนมให้ได้ปริมาณเต็มที่ 25-35 ออนซ์ต่อวัน ภายใน 10-14 วัน หลังคลอด โดยไม่ต้องคำนึงว่าลูกจะกินแค่ไหน ร่างกายของคุณแม่พร้อมที่จะผลิตน้ำนมแล้ว ถ้ารอนานเกินไป มันอาจจะยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้ที่เพิ่มปริมาณน้ำนมให้ได้ถึงระดับนี้
หลังจากคลอด เริ่มต้นปั๊มนมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ โดยปั๊มให้ได้ 8-10 ครั้งทุก 24 ช.ม. (เท่ากับจำนวนครั้งที่ลูกดูดต่อวัน) ยิ่งปั๊มได้บ่อยแค่ไหนต่อวัน ก็จะยิ่งทำให้เต้านมผลิตน้ำนมได้มากขึ้นเท่านั้น เลือกใช้เครื่องปั๊มนมขนาดใหญ่ (hospital grade) แบบที่ สามารถปั๊มพร้อมกันสองข้างได้
- จนกว่า น้ำนมจะมาจริงๆ ในวันที่ 3 หรือ 4 หลังคลอด ให้ปั๊มนมเป็นเวลาอย่างน้อย 10-15 นาทีต่อข้าง ต่อการปั๊มแต่ละครั้ง
- เมื่อปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นแล้ว พยายามปั๊มให้นานขึ้น (บ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้) อย่างน้อย 20-30 นาที หรือปั๊มต่ออีก 2 นาทีหลังจากน้ำนมถูกปั๊มออกหมดแล้ว แล้วแต่กรณีใดจะเกิดก่อน (การปั๊มให้เกลี้ยงเต้า จะช่วยให้น้ำนมผลิตได้เร็วขึ้น)
ตั้งเป้าที่จำนวนครั้งของการปั๊มต่อวัน ไม่ใช่ระยะห่างของการปั๊มแต่ละครั้ง
- ถ้าคุณคิดถึงแต่ว่าจะต้องปั๊มทุกกี่ช.ม. เมื่อมีการปั๊มครั้งหนึ่งช้าไปบ้าง จะทำให้จำนวนครั้งในการปั๊มต่อวัน (ปัจจัยสำคัญ) ลดลงไปโดยไม่รู้ตัว
- เมื่อวางแผนการปั๊ม พยายามคิดว่า "ฉันจะปั๊มให้ได้ 10 ครั้งหรือมากกว่าได้ยังไง"
- ถ้าไม่สามารถปั๊มได้ระหว่างช่วงไหนของวัน ให้ปั๊มทุกชั่วโมงในช่วงที่ทำได้เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด (8-10 ครั้งต่อวัน)
- ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน ให้ปั๊มตอนกลางคืนอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และอย่าให้ช่วงห่างระหว่างการปั๊มแต่ละครั้งนานเกินกว่า 5 ช.ม. (เต้านมที่คัดมากๆ และไม่ได้ปล่อยออก จะทำให้การผลิตน้ำนมช้าลง)
เมื่อสามารถปั๊มได้ตามเป้าหมาย 25-35 ออนซ์ต่อวัน อาจจะลดจำนวนครั้งที่ปั๊มลงและยังคงรักษาระดับปริมาณน้ำนมนี้ไว้ได้
- ลดจำนวนครั้งในการปั๊มเป็น 5-7 ครั้งต่อวัน ซึ่งเป็นจำนวนครั้งที่คุณแม่ส่วนใหญ่สามารถรักษาระดับปริมาณการผลิตน้ำนมไว้ได้คงที่
- อาจจะไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นมาปั๊มตอนกลางคืน บางคนอาจจะปั๊มก่อนเข้านอนและปั๊มอีกครั้งทันทีที่ตื่นตอนเช้าก็ได้
- เมื่อปริมาณน้ำนมถึงจุดที่กำหนดแล้ว ปั๊มเพียง 10-15 นาทีต่อครั้งก็พอ
- สังเกตปริมาณน้ำนมสัปดาห์ละครั้งด้วยการจดบันทึกปริมาณน้ำนมที่ได้ในแต่ละวัน
ถ้าต้องการเพิ่มปริมาณน้ำนม ยิ่งเริ่มต้นปฏิบัติได้เร็วเท่าใด ผลสำเร็จก็ยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น
จากบางส่วนของบทความเรื่อง "How to Established a Full Milk Supply with a Breast Pump" โดย Nancy Mohrbacher, IBCLC
หมายเหตุ
สำหรับคุณแม่ที่มาอ่านบทความนี้หลังจากลูกอายุ 2-3 เดือนหรือมากกว่าก็ตาม และมีปัญหาน้ำนมน้อยลงก็สามารถนำวิธีการปั๊มเพื่อกระตุ้นน้ำนมดังกล่าวไปใช้ได้เช่นกันค่ะ โดยพยายามปั๊มบ่อยๆ เท่าที่ทำได้
cr : web breastfeedingthai.com
25 พฤศจิกายน 2558
ผู้ชม 1402 ครั้ง